แบบจำลองระบบเครือข่าย
ผีเสื้อ
วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
TQC
ระบบบริหารงานคุณภาพ TQC
( Total Quality Control )
การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
TQC ( Total Quality Control ) คือ ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร เป็นกิจกรรมที่พนักงานทุกคน
ทุกระดับ และทุกหน่วยงานทําหรือร่วมกันทําเป็นประจํา เพื่อปรับปรุงงานอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง
โดยทําอย่างมีระบบ ทําอย่างเชิงวิชาการ อิงข้อมูล และมีหลักการที่สมเหตุสมผล
เพื่อจุดมุ่งหมายที่ทําให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพสินค้าและบริการ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มยอดขาย
และทำกำไรให้กับบริษัท/ องค์กร คือ การทำให้ผลิตภัณฑ์
และบริการสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
T = TOTAL หมายถึง ทุกคน ทุกระดับ ทุกหน่วยงาน และทุกวัน
Q = QUALITY หมายถึง
คุณภาพสินค้า คุณภาพบริการ และคุณภาพ
ของงานประจําวันทุกชนิด (DAILY WORK)
C = CONTROL หมายถึง การควบคุม
การควบคุมคุณภาพ
( Quality Control - QC ) คือการตั้งเป้าหมายในเรื่องคุณภาพ
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คุณภาพตามความหมาย TQC มีองค์ประกอบ
5 อย่างคือ
1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง
คุณภาพของสินค้าและบริการ และคุณภาพของงานระหว่างทำ
2. ต้นทุน (Cost
= C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน
ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้า และบริการนั้น
3. การส่งมอบ (Delivery
= D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง
ไปในสถานที่ที่ถูกต้อง และตรงตามเวลาที่นัดหมาย
4. ความปลอดภัย
(Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน
ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. ขวัญของพนักงาน
(Morale = M) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง
โดยมีความเชื่อว่าขวัญและกำลังใจของพนักงานมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน
และการปรับปรุงงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ดังนั้น TQC = Q C D S M
การทำ QC จะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกคนในองค์กร
ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงาน มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในทุกขั้นตอนของงาน
ตั้งแต่การวิจัยตลาด วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การวางแผนกำลังการผลิต
การจัดซื้อ การดำเนินการผลิต การตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพ การส่งมอบสินค้า การขาย
การบริการหลังการขาย การเงิน การบริหารงานบุคคล การฝึกอบรม การดำเนินงาน QC ตามวิธีการข้างต้นจึงเป็นไปในทาง
การดำเนินการทั้งองค์กร หรือที่เรียกว่า COMPANY-WIDE QUALITY CONTROL -
CWQC หรือเรียกว่า Total Quality Control –TQC
องค์ประกอบของ
TQC
Prof. Dr. Noriaki Kano ผู้เชี่ยวชาญด้าน TQC จาก Science University of Tokyo กล่าวว่า TQC เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ซึ่งมีองค์ประกอบ เช่น มีรากฐานที่มั่นคง มีพื้นที่แข็งแรง มีเสาบ้าน และมีหลังคาบ้าน บ้าน TQC ของ Dr. Kano มีองค์ประกอบดังนี้
1. Intrinsic Technology
2. Motivation for Quality
3. QC Concepts
4. QC Techniques
5. Promotional Vehicles
6. Quality Assurance
Prof. Dr. Noriaki Kano ผู้เชี่ยวชาญด้าน TQC จาก Science University of Tokyo กล่าวว่า TQC เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ซึ่งมีองค์ประกอบ เช่น มีรากฐานที่มั่นคง มีพื้นที่แข็งแรง มีเสาบ้าน และมีหลังคาบ้าน บ้าน TQC ของ Dr. Kano มีองค์ประกอบดังนี้
1. Intrinsic Technology
2. Motivation for Quality
3. QC Concepts
4. QC Techniques
5. Promotional Vehicles
6. Quality Assurance
TQC
วิวัฒนาการของการควบคุมคุณภาพ
·
TQC เป็นวิวัฒนาการอีกชั้นหนึ่งของการควบคุมคุณภาพ
(QC)
·
เริ่มเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
·
โดยที่ญี่ปุ่นได้แรงจูงใจมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
·
เริ่มแรกนั้นเป็นการใช้
QC ในเชิงสถิติ SQC (
Statistical Quality Control )
แล้วก็เกิดกลุ่ม
QCC ( Quality Control Circle )
หลักการของ TQC
TQC ได้วิวัฒนาการมาจาก
QCC กิจกรรมกลุ่ม QCC เป็นพื้นฐานที่ค้ำจุน
TQC ดังนั้น TQC จะต้องมีกิจกรรมกลุ่ม
QCC อยู่ด้วยเสมอ โดยมีหลักการดังนี้
1. เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรภายใต้ความสำนึกที่ว่ากิจการที่ทำอยู่ในองค์กรเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกิจการของตนเอง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีหน้าที่พัฒนาปรับปรุงงานต่างๆ
ภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ภายใต้การปฏิบัติงานที่มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานอย่างเปิดเผย
2. รับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยให้ความเคารพในความคิดเห็นของบุคคลอื่น พูดจาด้วยเหตุและผล
ผลจากจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ
1. ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงาน เสริมสร้างความเข้าใจให้พนักงาน รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ
2. ก่อให้เกิดความรู้ ความสามารถมากขึ้น
3. ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น เป็นการแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ เป็นการยกระดับจิตใจ
ของพนักงานก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงานของสำนักงาน
4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน
5. สามารถนำความรู้ในการสร้างคุณภาพมาใช้ประโยชน์ต่อตนเอง
6. ทำให้ทุกคนมีความสบายใจในการทำงาน ไม่มีความขัดแย้งกันในการ
ปฏิบัติงาน หันหน้าเข้าหากันเพื่อ
ปรึกษา
7. ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน
8. ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เข้าสู่คำว่า “คุณภาพ” อย่างแท้จริง
9. ลดความสูญเสียของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้
10. ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
11. ลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
12. ก่อให้เกิดระบบการควบคุมคุณภาพทั้งองค์กร สร้างความเจริญให้กับ องค์กรที่ตนเองปฏิบัติอยู่
ขั้นตอนการทำ TQC
1. จะต้องกำหนดระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน
2. ให้ทุกๆ ฝ่ายในบริษัททำความเข้าใจความคิด PDCA
3. ทำงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และทำให้พร้อมเพรียงทั้งบริษัท
4. ใช้เทคนิคทางสถิติ ( เครื่องมือ 7 อย่างของ QC ) ทั่วทั้งบริษัท
5. สร้างบริษัทให้มีระบบที่สามารถหาข้อบกพร่องได้อยู่เสมอ
6. พนักงานทุกคนในบริษัทจะต้องเข้าใจเรื่อง QCC ได้อย่างถูก
7. แม้จะอยู่ในบริษัทเดียวกันก็ตาม ให้คิดว่าผู้ที่ทำงานในขั้นตอนต่อไปคือลูกค้าที่ต้องให้ความสำคัญอย่างที่สุด
ปัจจัยสำคัญในการบริหารงาน TQC
· องค์กรมีนโยบายและเขียนเป็นนโยบายชัดเจน
·
มีอุดมการณ์ที่เน้นเรื่อง “คน” / ทําความเข้าใจอย่างชัดเจนในกลุ่ม
พนักงานทุกระดับ
·
วางระบบบริหารคุณภาพทั้ง TOP-DOWN & BOTTOM-UP
·
เน้นการฝึกอบรม ให้ความรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
·
TOP
MGMT เป็นผู้นําในการปฏิวัติแนวความคิดใหม่ที่จะนําไปสู่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร
·
TQC
ต้องทํางานเป็นทีม ทําอย่างต่อเนื่อง
วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)